top of page
  • Writer's pictureVitalKlares

สารสกัดจากพืช ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

Updated: Aug 30, 2021

โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นปัญหาสำคัญที่นำไปสู่การเสียชีวิตของประชากรโลก โดยพบว่าการเสียชีวิตของประชากรโลกประมาณร้อยละ 30 เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือด1

ภาวะเส้นเลือดแดงตีบแข็ง (atherosclerosis) เป็นสาเหตุหลักของการนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบ และภาวะหัวใจล้มเหลว การคัดกรองและค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจัดเป็นรากฐานที่สำคัญในการป้องกันการเกิด และการดำเนินไปของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ อายุ ประวัติคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด การสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะอ้วน และโรคไขมันในเลือดสูง


โรคไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะการมีระดับไขมัน LDL (low density lipoprotein) ในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าร้อยละ 39 ของประชากรโลกที่มีอายุมากกว่า 25 ปีจะมีภาวะไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น2 โดยการศึกษาวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดกับระดับ LDL ที่เพิ่มสูงขึ้น และผู้ป่วยที่มีระดับของ LDL ที่ลดลง สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้3 นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่า การมีระดับไขมัน LDL ที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญของการนำไปสู่การเกิดภาวะเส้นเลือดแดงตีบแข็ง โดย LDL จะแทรกตัวผ่านผนังเยื่อบุเส้นเลือดเข้าไปภายในเซลล์ของเส้นเลือด และเหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะเส้นเลือดแดงตีบแข็งในที่สุด4

การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงทำได้โดยการใช้ยาลดระดับไขมันในเลือด ร่วมกับการรักษาด้วยการไม่ใช้ยาได้แก่ การควบคุมอาหาร การลดน้ำหนักตัว และการออกกำลังกาย สำหรับการควบคุมอาหารนั้น โดยทั่วไปจะแนะนำให้จำกัดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงเช่น ไขมันจากสัตว์ น้ำมันหมู นม เนย เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์สูงได้แก่ อาหารฟาส์ตฟู้ด นมข้นหวาน ครีมเทียม เบเกอรี่เป็นต้น รวมถึงการเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่มีสารจำพวกไฟโตเสตอรอล เพื่อช่วยในการลดระดับไขมันในเลือด3-5


Phytosterols (ไฟโตสเตอรอล)

ไฟโตเสตอรอล (plant sterols และ plant stanols) เป็นสารพฤกษเคมีกลุ่มหนึ่งที่พบเฉพาะในพืช ไฟโตเสตอรอลจะมีโครงสร้างและหน้าที่คล้ายคลึงกับสารคอเลสเตอรอลที่พบในสัตว์และมนุษย์ อาหารหรือพืชที่เป็นแหล่งของไฟโตเสตอรอลได้แก่ น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ดอกกะหล่ำ ส้ม อัลมอนต์ เสาวรส และธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น โดยทั่วไปมนุษย์จะได้รับสารไฟโตเสตอรอลจากการรับประทานอาหารเฉลี่ยประมาณ 300-500 มิลลิกรัมต่อวันุ6


สารไฟโตเสตอรอลมีฤทธิ์ในการช่วยลดระดับ LDL โดยกลไกหลักคือการไปแย่งคอเลสเตอรอลในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่บริเวณลำไส้เล็ก ส่งผลทำให้การดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกายลดลง7นอกจากนี้สารไฟโตเสตอรอลอาจจะมีกลไกอื่นๆ ในการช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล เช่น การลดการนำคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ทางเดินอาหาร และการส่งเสริมการขจัดคอเลสเตอรอลออกจากร่างกายทางลำไส้เป็นต้น7,8 ในการศึกษาวิจัยพบว่าการได้รับสารไฟโตเสตอรอลตั้งแต่ 0.2-9 กรัมต่อวัน โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณวันละ 2 กรัม สามารถช่วยลดระดับ LDL ได้ประมาณร้อยละ 6-129,10โดยการได้รับสารไฟโตเสตอรอลในปริมาณที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลในการลด LDL ได้มากขึ้น นอกจากนี้พบว่าการได้รับสารไฟโตสเตอรอลจะทำให้กระบวนการอักเสบที่ถูกเหนี่ยวนำจาก LDL ในร่างกายเกิดลดลง จึงอาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเส้นเลือดแดงตีบแข็งได้11


จากข้อมูลการวิจัยจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการติดตามผลความปลอดภัยจากการรับประทานสารไฟโตเสตรอลปริมาณสูงเป็นเวลานาน ๆ อย่างไรก็ตามผลจากการศึกษาวิจัยต่างๆ ที่ผ่านมาไม่พบการเกิดอาการข้างเคียง หรืออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้สารไฟโตสเตอรอล จากการที่สารไฟโตสเตอรอลสามารถลดระดับ LDL ได้และมีความปลอดภัยในการใช้ แนวทางการรักษาต่าง ๆ จึงแนะนำว่าผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง และหรือการรับประทานเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรได้รับสารไฟโตสเตอรอลประมาณ 2 กรัมต่อวัน ร่วมกับการรับการดำเนินชีวิต เพื่อลดระดับ LDL ในร่างกาย สำหรับการรับประทานไฟโตสเตอรอลในรูปแบบอาหารเสริมสามารถรับประทานวันละครั้ง หรือวันละหลายครั้งก็ได้ หากรับประทานวันละครั้งควรรับประทานหลังอาหารเนื่องจากให้ผลการรักษาที่ดีกว่า


Artichoke leaf extract (สารสกัดจากใบอาร์ทิโชก)

อาร์ทิโชกเป็นพืชเมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในยุโรปเขตเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะทรงต้นและใบจะมีขนาดใหญ่โตเต็มที่จะมีขนาด 1.80 เมตร ใบหยักเป็นแฉกลึกสีเขียวอมเทาหรือขาวอมเทา ดอกประกอบไปด้วยกลุ่มของกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ บนก้านดอกลักษณะของดอกทรงแตกต่างกันไปตามลักษณะสายพันธุ์ อาร์ทิโชกถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคตั้งแต่ในสมัยโบราณ โดยสารสกัดจากใบอาร์ทิโชกจะมีสารจำพวกโพลีฟิโนลิคอยู่เป็นจำนวนมาก และเชื่อว่าเป็นสารสำคัญที่ทำให้อาร์ติโชคมีฤทธิ์ทางการแพทย์ โดยสารโพลีฟิโนลิคที่พบในสารสกัดจากใบอาร์ทิโชกได้แก่ cynarin, กรดคลอโรจีนิค กรดคาเฟอิก และสารลูทีโอริน12 นอกจากนี้อาร์ทิโชกยังมีสารจำพวกไฟโตสเตอรอลที่สามารถช่วยลดระดับ LDL ได้

สารสกัดจากใบอาร์ทิโชกช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเส้นเลือดแดงตีบแข็งได้ โดยสารพวกกรดคาเฟอิค และลูทีโอรินมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงสามารถลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของ LDL จึงช่วยลดการอักเสบของเส้นเลือด รวมทั้งมีผลยับยั้งการสังเคราะห์ไขมันในร่างกาย13มีการศึกษาวิจัยทางคลินิคที่พบว่าการใช้สารสกัดจากใบอาร์ทิโชก สามารถลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ และช่วยเพิ่มระดับ HDL ซึ่งเป็นไขมันที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจได้14-16นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากอาร์ทิโชกจะส่งเสริมการสลายคอเลสเตอรอลและการกำจัดออกจากร่างกาย


Grape seed extract (สารสกัดจากเมล็ดองุ่น)

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (grape seed extract) เป็นแหล่งของสารโพลีฟีนอล (polyphenols) ได้แก่ โพรแอนโทไซยานิดินส์ (proanthocyanidins) และฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้น้ำมันจากเมล็ดองุ่นจะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเช่น กรดไลโนเลอิค และกรดไลโนเลนิกในปริมาณที่สูง ซึ่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวนี้อาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้18

สารสกัดจากเมล็ดองุ่นอาจสามารถช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้จากหลายกลไกเช่น ยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ LDL ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเกิดภาวะเส้นเลือดแดงตีบแข็ง, ทำให้การทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดดีขึ้น, ลดระดับความดันโลหิต, ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ลดกระบวนการอักเสบ และลดการสะสมของไขมันในร่างกาย เป็นต้น19,20 การศึกษาวิจัยพบว่าสารจำพวกโพลีฟีนอลซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ LDL และการรับประทานอาหารที่มีนี้ในปริมาณสูง อาจช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้21 รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยที่พบว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นสามารถช่วยยับยั้งการและลดขนาดของคราบไขมันในหลอดเลือด จึงอาจลดการเกิดภาวะเส้นเลือดแดงตีบแข็งได้22


Alphalipoic acid (กรดอัลฟาไลโปอิก)


กรดอัลฟาไลโปอิก สังเคราะห์ขึ้นในตับและเนื้อเยื่ออื่น ๆ โดยมีบทบาทในการทำงานต่าง ๆ ของเซลล์ สามารถพบได้มากในมนุษย์และสัตว์มากกว่าในพืช กรดอัลฟาไลโปอิกและอนุพันธ์ของสารนี้มีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

ในปัจจุบันมีทฤษฎีที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุมูลอิสระกับการเกิดภาวะเส้นเลือดแดงตีบแข็ง โดยในช่วงแรกของการเกิดการสะสมของคราบไขมันและการอักเสบภายในเส้นเลือดแดงจากการมี LDL ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ LDL การที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระเพิ่มสูงขึ้น จะเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือดเกิดมากขึ้นและทำให้เส้นเลือดมีการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น ดังนั้นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีเช่นกรดอัลฟาไลโปอิก อาจมีผลลดการเกิดกระบวนการดังกล่าว และลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ LDL17 จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ นอกจากนี้มีการศึกษาที่พบว่ากรดอัลฟาไลโปอิกสามารถช่วยลดระดับไตรกรีเซอไรด์ และความดันโลหิตได้


การนำไปใช้

จากที่ได้กล่าวข้างต้นเห็นได้ว่าสารทั้ง 4 ชนิดมีฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือด และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงอาจมีผลลดการอักเสบ และลดการเกิดภาวะเส้นเลือดแดงตีบแข็ง นำไปสู่การป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ดังนั้นอาจพิจารณานำไปใช้เสริมการปรับการดำเนินชีวิต และหรือการใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ที่มีความต้องการในการใช้สารอาหารเสริมในการควบคุมระดับไขมันในเลือด หรือป้องกันการเกิดโรคหัวใจ


เอกสารอ้างอิง
1. World Health Organization. (WHO). Cardiovascular Diseases (CVDs). Fact sheet. [Accessed in 2021 Feb 2]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs317/en/
2. World Health Organization. (WHO). Global Health Observatory (GHO) data. Raised cholesterol. [Accessed on 2020 Feb 2]. Available from: http://www.who.int/gho/ncd/risk_factors/cholesterol_text/en/.
3. Piepoli MF, Hoes AW, Agewall S, Albus C, Brotons C, Catapano AL, et al. 2016 European Guidelines on cardiovascular disease prevention in clinical practice: The Sixth Joint Task Force of the European Society of Cardiology and Other Societies on Cardiovascular Disease Prevention in Clinical Practice (constituted by representatives of 10 societies and by invited experts) Developed with the special contribution of the European Association for Cardiovascular Prevention & Rehabilitation (EACPR). Eur Heart J. 2016;37(29):2315-81. doi: 10.1093/eurheart/ehw106.
4. Expert Dyslipidemia Panel of the International Atherosclerosis Society Panel members. An International Atherosclerosis Society Position Paper: Global recommendations for the management of dyslipidemia – Full report. J Clin Lipidol. 2014;8(1):29-60. doi:10.1016/j,jaci.2013.12.005.
5. Jellinger PS, Handelsman Y, Bell DS, Bloomgarden ZT, Brinton EA, Davidson M, et al. American Association of Clinical Endocrinologists and American College of Endocrionology guidelines for management of dyslipidemia and a prevention of atherosclerosis. Endocr Pract. 2017;23(Suppl 2):1-87.
6. Gupta AK, Savopoulos CG, Ahuja J, Hatzitolios AI. Role of phytosterols in lipid lowering: current perspectives. QJM.
7. Cohn JS, Kamili A, Wat E, Chung RW, Tandy S. Reduction in intestinal cholesterol absorption by various food components: mechanisms and implications. Atheroscler Suppl. 2010;11(1):45-8.
8. Gylling H, Simonen P. Phytosterols, phytostanols, and lipoprotein metabolism. Nutrients. 2015;7(9):7965-77.
9. Ras RT, Geleijnse JM, Trautwein EA. LDL cholesterol-lowering effect of plant sterols and stanols across different dose ranges: a meta-analysis of randomised controlled studies. Br J Nutr. 2014;112(2):214-9.
10. Párraga-Martínez I, López-Torres-Hidalgo JD, Del Campo-Del Campo JM, Galdón-Blesa MP, Precioso-Yáñez JC, Rabanales-Sotos J, et al. Long-term effects of plant stanols on the lipid profile of patients with hypercholesterolemia. A randomized clinical trial. Rev Esp Cardiol. 2015;68(8):665-71.
11. Aviram M, Eias K. Dietary olive oil reduces low-density lipoprotein uptake by macrophages and decreases the susceptibility of the lipoprotein to undergo lipid peroxidation. Ann Nutr Metab. 1993;37:75– 84.
12. Ben Salem M, Affes H, Ksouda K, Dhouibi R, Sahnoun Z, Hammami S, et al. Pharmacological Studies of Artichoke Leaf Extract and Their Health Benefits. Plant Foods Hum Nutr. 2015 Dec;70(4):441-53.
13. Petrowicz O, Gebhardt R, Donne RM, Schwandt M, Kraft K. Effects of artichoke leaf extract (ALE) on lipoprotein metabolism in vitro and in vivo. Atherosclerosis, 1997; 129:147–150.
14. Englisch W, Beckers C, Unkauf M, Ruepp MV, Zinserling. Efficacy of artichoke dry extract in patients with hyperlipoproteinemia. Arzneimittelforschung, 2000;50:260–265ใ
15. Kraft K. Artichoke leaf extract–recent findings reflecting effects on lipid metabolism, liver, and gastrointestinal tracts. Phytomedicine, 1997;43:69–78
16. Fintelman V (1996) Therapeutic profile and mechanism of action of artichoke leaf extract: hypolipemic, antioxidant, hepatoprotective and choleretic properties. Phytomedica 201:50–60.
17. Forgione, M. & Loscalzo, J. (2000) The antioxidant hypothesis In: Developments in Cardiovascular Medicine: Antioxidants and Cardiovascular Disease (Tardif, J-C. & Bourassa, M. G., eds.) v. 233, pp. 47–57. Kluwer Academic Press, The Netherlands
18. Shinagawa FB, de Santana FC, Torres LRO et al (2015) Grape seed oil: a potential functional food? Food Sci Technol 35(3):399–406
19. Dohadwala MM, Vita JA (2009) Grapes and cardiovascular disease. J Nutr 139(9):1788S–1793S
20. Kinsella JE, Frankel E, German B et al (1993) Possible mechanism for the protective role of the antioxidant in wine and plant foods. Food Technol 47:85–89
21. A, Wang J, Cao H et al (2015) Beneficial clinical effects of grape seed proanthocyanidin extract on the progression of carotid atherosclerotic plaques. J Geriatr Cardiol 12(4):417–423
22. Moreno DA, Ilic N, Poulev A et al (2003) Inhibitory effects of grape seed extract on lipases. Nutrition 19(10):876–879



117 views
bottom of page